วิธีกําจัดเชื้อราในแอร์ จบปัญหากลิ่นเหม็นอับในบ้านและภัยร้ายใกล้ตัว

แอร์เริ่มมีกลิ่นเหม็น อย่าปล่อยไว้ เพราะนั่นคือสัญญาณของเชื้อราร้าย มารู้จักวิธีกำจัดเชื้อราในแอร์ เพื่อคืนอากาศบริสุทธิ์ให้บ้านของเรากันค่ะ

กําจัดเชื้อราในแอร์

เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้านที่ให้ความเย็น คลายความร้อนในช่วงหน้าร้อน หลายคนติดแอร์มาก เปิดทั้งวันทั้งคืน ใช้งานแอร์อย่างหนักแต่ไม่ดูแลทำความสะอาดเลย จนเกิดเป็นเชื้อราในช่องแอร์ ทำให้แอร์มีกลิ่นเหม็นอับแปลก ๆ ทิ้งไว้นานคงไม่ดีแน่ อย่ารอช้ามาดูวิธีกำจัดเชื้อราในช่องแอร์ที่กระปุกดอทคอมเอามาฝากกัน

สาเหตุของเชื้อราในช่องแอร์

เนื่องจากแอร์ที่ไม่สามารถระบายความชื้นออกมาได้ทั้งหมด และบางส่วนของแอร์ที่เปียกชื้นอยู่เสมอ เช่น ท่อน้ำทิ้ง ถาดน้ำทิ้ง ฟองน้ำที่หุ้มฉนวน แผ่นกรองฟิลเตอร์ และจุดอับต่าง ๆ ในระบบการทำงานของแอร์ มักจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราจำนวนมาก นอกจากนี้ความชื้นภายนอกตัวเครื่อง เช่น การวางภาชนะใส่น้ำไว้ในห้อง เช่น ตู้ปลา กระถางต้นไม้ ก็มีส่วนทำให้ความชื้นในห้องเพิ่มสูงขึ้นด้วย

เมื่อเกิดการสะสมของเชื้อราเป็นเวลานาน บางครั้งจะทำให้การทำงานของแอร์ผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นอับออกมา ถึงตอนนี้หลายคนจึงเลือกใช้การล้างแอร์ เพราะคิดว่าจะสามารถกำจัดเชื้อราได้ อาจจะทำให้กลิ่นหายไปในช่วงแรก ๆ แต่สักพักปัญหาเดิมก็จะกลับมาอีก เพราะเชื้อราบางจุดสะสมเยอะจนกินเนื้อพลาสติกไปแล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะล้างแอร์ยังไงก็ไม่สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้ถาวรนั่นเอง

อันตรายจากเชื้อราในช่องแอร์

กําจัดเชื้อราในแอร์

การปล่อยให้มีเชื้อราในช่องแอร์และไม่ดูแลล้างทำความสะอาด จะทำให้ภายในเครื่องและท่อแอร์เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส และเมื่อเราอยู่ในห้องที่มีเชื้อรา สูดอากาศที่ปนเปื้อนเข้าไปเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น หอบหืด ไอ จาม แน่นหน้าอก ระคายเคืองตา เจ็บคอ รวมถึงอาการทางผิวหนังที่ต้องอยู่ในอากาศที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน เช่น ผื่นคัน กลากเกลื้อน และนอกจากอาการเหล่านี้แล้ว ยังมีโรคอันตรายอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรคลีเจียนแนร์ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ลีจิโอเนลลา นิวโมฟิวลา มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ไข้สูง หนาวสั่น และไอ ซึ่งอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ระบบการหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้
     
  • โรคไข้ปอน ตีแอก หรือไข้ปอนเตียก : เกิดจากเชื้อลีจิโอเนลลา นิวโมฟิวลา เช่นกัน แต่ไม่รุนแรงเท่า โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และหายเองได้ใน 2-5 วัน
     
  • โรคทางเดินหายใจ : ภูมิแพ้ ผื่นแพ้แดง และผิวหนังอักเสบ เพราะห้องแอร์เป็นห้องที่ปิดสนิท อากาศไม่ถ่ายเท เย็น อับชื้น และแห้ง นอกจากนี้ถ้าอยู่ในห้องแอร์ที่มีเชื้อราหรือฝุ่นเป็นเวลานาน อาจจะเป็นตัวเร่งให้ร่างกายแพ้และเกิดผื่นได้ง่าย
     
  • โรคตึกเป็นพิษ : คนที่ทำงานในออฟฟิศอาจจะคุ้นชินกับโรคออฟฟิศซินโดรมที่จะมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ ตาลาย เมื่อเข้าไปนั่งในบรรยากาศของออฟฟิศ แต่จริง ๆ แล้วนั่นคืออาการของโรคตึกเป็นพิษ ที่เกิดจากการหมุนเวียนของอากาศภายในออฟฟิศที่ถ่ายเทไม่ทั่วถึงและมีเชื้อราสะสมในช่องแอร์ต่างหาก

วิธีกำจัดเชื้อราในช่องแอร์เพื่อลดกลิ่นเหม็นอับ

1. แอร์ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

สามารถทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของแอร์ ตั้งแต่ถาดน้ำทิ้ง ควรเทน้ำทิ้งและล้างทุก ๆ 1-2 สัปดาห์ ป้องกันไม่ให้มีตะไคร่มาเกาะ และถอดแผ่นกรองอากาศออกมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า น้ำสบู่ หรือน้ำผสมน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอกเพียงเล็กน้อยเป็นประจำทุกเดือน หากทำความสะอาดตามขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีกลิ่นเหม็นอยู่ ควรติดต่อช่างเพื่อให้มาทำความสะอาดเต็มรูปแบบ สำหรับแอร์ที่ใช้เป็นประจำ ควรล้างแบบเต็มรูปแบบทุก ๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละครั้ง2. แอร์ระบบรวม

โดยวิธีการทำความสะอาดคือ เมื่อไม่ได้ใช้งานแอร์แล้ว ให้ปล่อยน้ำทิ้งออกจากหอหล่อเย็น ทิ้งให้แห้งสนิท ขัดถูกำจัดคราบไคลตะกอนต่าง ๆ เติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ผสมคลอรีนความเข้มข้น 10 ppm (10 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อฆ่าเชื้อรา ฉีดเข้าไปที่หอผึ่งเย็นและทิ้งระบบไว้ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง จากนั้นให้ระดับความเข้มข้นของคลอรีนไม่น้อยกว่า 0.2 ppm รวมถึงหมั่นทำความสะอาดถาดรองน้ำที่หยดจากท่อคอยล์เย็นเป็นประจำ หรืออย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน ป้องกันไม่ให้เกิดตะไคร่หรือมีเชื้อราได้

เมื่อนั่งเล่นนอนเล่นในห้องที่มีแอร์เย็น ๆ แล้ว ก็อย่าลืมสังเกตด้วยว่าแอร์มีกลิ่นอับแปลก ๆ หรือไม่ เพราะถ้ามี ไม่ควรนิ่งเฉยหรือปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจจะเกิดเป็นเชื้อราที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ระบบทางเดินหายใจของเราแย่ลง ดังนั้นจึงควรหมั่นล้างแอร์เป็นประจำเพื่อให้ได้อากาศที่เย็น บริสุทธิ์ และดีต่อร่างกายนะคะขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรคสมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทยกรมอนามัยนายช่างมาแอร์สสส.researchgate

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า