ประโยชน์ของชมพู่ ผลไม้ลดน้ำหนัก เป็นเบาหวานก็กินได้

ชมพู่ ผลไม้ที่หลายคนมองข้ามเพราะอาจจะยังไม่รู้สรรพคุณของผลไม้ชนิดนี้ดีนัก แต่ถ้าลองมารู้จักจะรีบหามากินเลยล่ะ

อาจเพราะชมพู่เป็นผลไม้ตามฤดูกาล อีกทั้งรสชาติก็ไม่ได้หวานมาก หลายคนจึงไม่ค่อยกินชมพู่กันเท่าไร แต่รู้ไหมว่าผลไม้ชนิดนี้ประโยชน์ดีมากเลยนะ และไม่ว่าจะเป็นชมพู่ทับทิมจันทร์ ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดง สรรพคุณก็ดีงามไปทุกพันธุ์ งั้นอย่ารอช้า มารู้จักชมพู่ให้มากขึ้นกันดีกว่าชมพู่ ผลไม้ที่มีต้นกำเนิดจากอินเดีย

ชมพู่

          ชมพู่เป็นผลไม้เขตร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย โดยชมพู่มีชื่อภาษามาลายูว่า จามู แต่ในอดีตมีการเรียกชื่อเพี้ยนเป็นจัมบู กระทั่งกลายมาเป็นชมพู่ที่เรารู้จักกัน ส่วนภาษาอังกฤษของชมพู่นั้นเรียกกันว่า Rose apple ชมพู่เป็นผลไม้ในวงศ์ MYRTACEAE ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium jambos (L.) Alston

ชมพู่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เป็นอย่างไร

          ชมพู่เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงราว 5-20 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลหรือเทา ลักษณะเรียบหรือขรุขระ มักแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณใกล้กับโคนต้น ใบเป็นใบเดี่ยวหนา ผิวด้านหลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ปนแดงหรือม่วง ส่วนดอกจะออกตามใบ มีชั้นกลีบเลี้ยงจำนวน 4-5 ใบ เรียงติดกันเป็นรูปถ้วย เมื่อดอกบานชั้นกลีบดอกจะหลุดร่วงเป็นแผงคล้ายหมวก ข้างในจะมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก พร้อมอับเกสรสีทองที่ปลายดอก ส่วนสีของดอกจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ชมพู่ โดยมีทั้งดอกสีขาว สีเหลืองชมพู แดง          ผลชมพู่ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมฐานกว้าง ผลครึ่งบนด้านขั้วจะค่อนข้างเล็ก แล้วขยายใหญ่ไปทางก้นผล มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ตรงปลาย เมื่อผ่าครึ่งตามยาวผลชมพู่จะมีรูปร่างคล้ายจมูกคนชมพู่มีกี่สายพันธุ์          ชมพู่มีอยู่ด้วยกันหลายสายพันธุ์ โดยพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ชมพู่มะเหมี่ยว          ผลสีแดงเข้ม เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีเมล็ดขนาดใหญ่ รสหวานอมเปรี้ยว กลิ่นหอมคล้ายดอกกุหลาบชมพู่สาแหรก          ลักษณะคล้ายชมพู่มะเหมี่ยวแต่ขนาดผลเล็กกว่า บริเวณปลายกลีบยื่นออกมาคล้ายกับปาก เนื้อออกสีขาวขุ่น รสหวานฉ่ำน้ำชมพู่แก้มแหม่ม          ผลสีขาวออกชมพู เนื้อนุ่ม มีไส้เป็นปุย กลิ่นหอมแต่ไม่หวานชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว          ผลขนาดเล็กสีแดงสด เนื้อน้อย มีรสเปรี้ยว มักปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้านมากกว่ากินเป็นผลไม้ชมพู่น้ำดอกไม้          เป็นชมพู่ผลกลม ภายในผลกลวง ที่ก้นผลมีกลีบ มองดูคล้ายดอกไม้ ผลดิบสีเขียวเข้ม ผลสุกสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมเหมือนน้ำดอกไม้          นอกจากนี้ยังมีชมพู่ที่ถูกนำมาปรับปรุงพันธุ์เพื่อการค้า ได้แก่ชมพู่เพชรสุวรรณ           ผิวสีเขียวอมแดง เนื้อหนากรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวานชมพู่เพชรสายรุ้ง           เป็นการผสมพันธุ์ระหว่างชมพู่กะหลาป๋าของอินโดนีเซีย กับชมพู่แดงของไทย ทำให้ได้ชมพู่ที่มีรสหวาน กรอบ รูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ตรงกลางผลป่องเล็กน้อย ผิวเปลือกสีเขียว เวลาแก่จัดจะเห็นเส้นริ้วสีแดงที่ผิวชัดเจน เนื้อแข็ง กรอบ รสหวานมากกว่าชมพู่ทุกสายพันธุ์ จึงมีราคาแพงที่สุดในบรรดาชมพู่ด้วยกันชมพู่ทับทิมจันทร์

           ผลยาวรี ตรงกลางคอด บริเวณปลายผลป่อง ผิวสีแดง เนื้อกรอบ ฉ่ำน้ำ รสหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ดชมพู่ทูลเกล้า           เป็นชมพู่สีเขียวอ่อน รูปกรวยแคบ ผลยาวรีทรงสูงกว่าพันธุ์อื่น ๆ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย ผิวเรียบ สีเขียวอ่อน เนื้อในสีขาวออกเขียว เนื้อหนา กรอบ ฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ดชมพู่เพชรน้ำผึ้ง

           ผลยาวรี รูปกรวยแคบ ขั้วผลแคบกลมมน ก้นผลกว้าง พองออกเล็กน้อย เปลือกหนา สีแดงเข้ม เนื้อสีขาว กรอบ รสหวานอมฝาดเล็กน้อยประโยชน์ของชมพู่ สรรพคุณดีอย่างไร

ชมพู่

          ชมพู่เป็นผลไม้ที่มีแทบทุกฤดูกาล ราคาไม่แพงมาก รสชาติก็หวานอร่อย พร้อมด้วยประโยชน์ต่าง ๆ ตามนี้

1. เป็นผลไม้น้ำตาลน้อย

          ชมพู่ทับทิมจันทร์ น้ำหนัก 100 กรัม หรือ 1 ผลขนาดกลาง มีน้ำตาลประมาณ 7.7-7.9 กรัม หรือคิดเป็น 1.9-2 ช้อนชา ส่วนชมพู่มะเหมี่ยว มีน้ำตาล 5.8 กรัม หรือ 1.5 ช้อนชา ต่อน้ำหนัก 100 กรัม (ประมาณ 1 ผลขนาดกลาง) ชมพู่ทูลเกล้า 1 ผลขนาดใหญ่ น้ำหนัก 100 กรัม มีปริมาณน้ำตาล 7.9 กรัม หรือประมาณ 2 ช้อนชา เท่ากับปริมาณน้ำตาลในชมพู่เพชร ในน้ำหนักเท่ากัน
 

2. เป็นผลไม้ลดน้ำหนัก

          นอกจากชมพู่จะเป็นผลไม้น้ำตาลต่ำแล้ว ยังเป็นผลไม้ลดน้ำหนัก ได้ด้วยเพราะให้พลังงานต่ำนั่นเอง โดยชมพู่ในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานราว ๆ 42 กิโลแคลอรี เท่านั้น อีกทั้งชมพู่ยังอุดมไปด้วยน้ำ กากใยอาหาร กินแล้วจะรู้สึกอิ่มได้นาน
 

3. ช่วยในการขับถ่าย

          ชมพู่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำและชนิดไม่ละลายน้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย

4. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

ชมพู่

          ชมพู่ที่มีผิวสีแดงอย่างชมพู่สาแหรก ชมพู่พลาสติก ชมพู่ทับทิมจันทร์ จะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า ไลโคปีน (Lycopene) และชมพู่ที่มีผิวสีแดงเข้มไปจนถึงม่วงอย่างชมพู่มะเหมี่ยว จะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพดีด้วยกันทั้งคู่

5. ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

          ไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำในชมพู่มีคุณสมบัติลดการดูดซึมไขมันในระบบทางเดินอาหาร ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือดได้อีกทาง อีกทั้งในชมพู่ยังอุดมไปด้วยวิตามินต่าง ๆ โพแทสเซียม สารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยบำรุงหลอดเลือดและช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้

6. อุดมไปด้วยวิตามินบำรุงร่างกาย

          ชมพู่เป็นผลไม้ที่มีทั้งวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินอี อีกทั้งยังฉ่ำน้ำ รับประทานแล้วเพิ่มความสดชื่น เติมน้ำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และวิตามินเอก็มีส่วนช่วยบำรุงสายตา ส่วนวิตามินซีก็ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และลดความรุนแรงของโรคหวัด

7. เป็นยาบำรุงร่างกาย

          ในประเทศอินเดียใช้ผลชมพู่เป็นยาบำรุงร่างกาย ช่วยฟื้นฟูและปกป้องสมองและตับ โดยมีการนำผลชมพู่มาชงหรือแช่น้ำดื่มประโยชน์ของชมพู่ส่วนอื่น ๆ

          ตามตำรับยาพื้นบ้านทั้งในและต่างประเทศ มีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นชมพู่มาใช้ประโยชน์มากมาย อาทิ

เปลือกชมพู่น้ำดอกไม้

  • นำมาใช้เป็นยารักษาวัณโรค แก้อาการติดเชื้อในปาก แก้ปวดท้องและโรคในช่องท้อง ใช้เป็นยาถ่าย และเป็นยาพื้นบ้านรักษากามโรค

เปลือกต้น

  • มีสารแทนนินอยู่ประมาณ 7-12.4% ซึ่งสามารถใช้เป็นยาสมานแผล แก้อาเจียน และเป็นยาระบายได้ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาพื้นบ้านในต่างประเทศที่นำเปลือกต้นชมพู่ไปต้มเป็นยาบรรเทาโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ บรรเทาอาการเสียงแหบ

ใบ

  • ใช้แก้อาการตาแดง หรือนำใบมาต้มเป็นยาล้างแผลที่เกิดจากการติดเชื้อทางผิวหนัง และมีการนำไปใช้ร่วมกับยาสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้เบื่ออาหาร แก้ปวดกระดูก เบาหวาน โรคหนองใน แก้กระเพาะอาหารบวมหลังคลอด แก้เจ็บคอ โรคหลอดลมอักเสบ และบรรเทาอาการท้องผูก

เกสร

  • ในต่างประเทศนำเกสรของดอกชมพู่มาใช้ลดไข้

เมล็ด

  • นำไปใช้แก้ท้องร่วง แก้บิด และโรคหวัด

ราก

  • ชาวคิวบาเชื่อว่ารากชมพู่มีประสิทธิภาพในการแก้โรคลมชัก

ชมพู่ เป็นเบาหวานกินได้ไหม

ชมพู่

          จากการศึกษาพบว่า ในชมพู่มีส่วนประกอบทางเคมีที่ชื่อว่า 5-O-methyl-4′-desmethoxymatteucinol ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือด และยังมีสารที่ชื่อว่าแจมโบไซน์ (Jambosine) คอยช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งชมพู่ยังเป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) อยู่ที่ <=55 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำด้วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงสามารถรับประทานได้ แต่ควรจำกัดปริมาณให้ไม่เกินมื้อละ 1-2 ผล ชมพู่ คนท้องกินได้ไหม          ในช่วงตั้งครรภ์ควรต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อไม่ให้เสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งชมพู่ก็เป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ รสไม่หวานจัด ทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ ดังนั้นคนท้องกินชมพู่ได้นะคะ แต่ก็ควรจำกัดปริมาณไม่ให้มากจนเกินไป และควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอื่น ๆ ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน          ผลไม้อย่างชมพู่ก็มีประโยชน์ที่น่าสนใจไม่น้อย และหากินได้ไม่ยาก ถ้าเจอเมื่อไรก็อย่าลืมซื้อมารับประทานเพื่อสุขภาพที่ดีกันนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย 12
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
โรงพยาบาลเวชธานี
Thai PBS
โรงพยาบาลพญาไท
มูลนิธิสุขภาพไทย
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวีฯ
kaset today
prayod.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า