เทศกาลกินเจ 2564 เริ่มวันที่เท่าไร ควรเตรียมตัวอย่างไรกับเทศกาลกินเจ

เทศกาลกินเจ 2564 ปีนี้ตรงกับ ตรงกับวันที่ 6 ตุลาคม – 14 ตุลาคม 2564 รวมเป็นเวลา 9 วัน ซึ่งบางท่านอาจจะล้างท้องวันที่ 5 ตุลาคม รวมเป็น 10 วันก็ได้ ทำไมเราต้องกินเจ กินเจแล้วได้อะไร แล้วเทศกาลกินเจถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร จะเล่าให้ฟังค่ะ

เทศกาลกินเจ

คำว่า “เจ” ในภาษาจีนทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “อุโบสถ หรือการรักษาศีล 8” ของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่จะมีการรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคอะไรหลังเที่ยงวันตามหลักศีล 8 ข้อ และไม่บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ช่วงหลังจึงเรียกคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ว่า “กินเจ” ไปด้วย แต่ถึงกระนั้นการกินเจไม่ใช่เพียงแต่งดเนื้อสัตว์ อาหาร และเครื่องปรุงที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ แต่ยังรวมถึงการรักษาศีล ประพฤติตัวเป็นคนดีทั้งกาย วาจา ใจ อีกด้วย

ช่วงเวลาเทศกาลกินเจ

ช่วงเทศกาลกินเจของทุกปี ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย ตามปฏิทินสากล รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 9 วัน 9 คืน

เทศกาลกินเจ เริ่มตั้งแต่วันที่เท่าไหร่?

เริ่มวันที่ 6 ตุลาคม – 14 ตุลาคม 2564 บางท่านอาจจะล้างท้องตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคมในมื้อเย็น ก็สามารถทำได้

ทำไมเราต้องกินเจ?

  1. กินเจ เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะอาหารเจถือเป็นอาหารชีวจิตอย่างหนึ่ง ช่วยปรับสภาพร่างกายให้สมดุล ล้างพิษในร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะคนจีนเชื่อว่า เนื้อสัตว์เป็น “หยิน” และผักผลไม้เป็น “หยาง” โดยธรรมชาติคนเรามักทานเนื้อสัตว์เยอะกว่าผักผลไม้ การงดทานเนื้อสัตว์จึงเป็นการปรับให้หยินและหยางสมดุลมากยิ่งขึ้นด้วย
  2. กินเจ เพื่อทำบุญ เพื่อชำระล้างใจให้ใสสะอาด ไม่เบียดเบียนสัตว์โลก ทำให้จิตใจเราผ่องใสมากขึ้น เมื่อเราทราบว่าสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องที่ดี ก็จะส่งผลต่อจิตใจที่เบิกบาน เป็นสุขขึ้น
  3. กินเจ เพื่อละเว้นกรรม ที่เกิดจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือแม้กระทั่งการจ้างฆ่าเพื่อการบริโภค หากเราทราบว่าการงดบริโภคเนื้อสัตว์ เป็นการช่วยชีวิตสัตว์นับพันนับหมื่น เราก็จะช่วยลดกรรมของเราได้มากขึ้น

ทำไมต้องล้างท้อง?

การล้างท้องหมายถึง เริ่มกินเจก่อนถึงวันเริ่มต้นเทศกาลจริง 1-2 วันเพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับสภาพ และทำความคุ้นเคยกับการกินเจได้ดียิ่งขึ้น

ธงเจ มีความหมายอย่างไร?

  • ตัวอักษรภาษาจีน อ่านว่า “ไจ” หรือ “เจ” หมายถึง “ของไม่มีคาว”
  • ตัวอักษรสีแดง หมายถึง ความเป็นสิริมงคลในชีวิต พื้นหลังสีเหลือง หมายถึง สีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล
  • ธงเจจึงเป็นสัญลักษณ์ของการกินเจ และเป็นเครื่องยืนยันย้ำเตือนพุทธศาสนิกชนให้หันมาเตรียมตัวร่วมเทศกาลกินเจด้วยกัน

นอกจากเนื้อสัตว์แล้ว ห้ามกินอะไรบ้าง?

  1. ผักที่มีกลิ่นฉุน 5 อย่าง ได้แก่ กระเทียม (ไม่ดีต่อหัวใจ), หอมใหญ่ แดง ขาว ต้นหอม (ไม่ดีต่อไต), หลักเกียว ผักของจีน มีลักษณะคล้ายกระเทียมโทน (ไม่ดีต่อม้าม), กุยช่าย (ไม่ดีต่อตับ) และ ใบยาสูบ (ไม่ดีต่อปอดเมื่อใช้สูบ) นอกจากนี้ผักชนิดไหนที่มีกลิ่นฉุนก็ไม่ควรทานระหว่างช่วงกินเจด้วย
  2. นม เนย น้ำมัน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
  3. อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัด
  4. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  5. ใครที่กินเจจริงจัง ห้ามทานอาหารบนภาชนะที่ใช้ร่วมกับผู้ที่ไม่ได้กินเจ และต้องทานอาหารที่ปรุงจากคนที่กินเจด้วยกันเท่านั้น

กินเจ อาหารที่ทานได้

  1. ชา กาแฟ ที่ไม่ใส่นม เนย หรือครีมเทียม
  2. วิตามินเสริมอัดเม็ด ที่ไม่มีสารสกัดจากสัตว์
  3. ขนมกรุบกรอบ ที่ไม่มีส่วนผสมของสัตว์
  4. พริกไทย เป็นสมุนไพร (แต่หากรู้สึกว่ามีกลิ่นฉุน สามารถเลี่ยงได้)
  5. ขนมปัง (ที่เป็นขนมปังเจ หรือไม่มีส่วนผสมของนม)
  6. มาม่า หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (สูตรเจเท่านั้น)
  7. แต่งหน้า และฉีดน้ำหอม (สำหรับคนถือศีล 5 หากถือศีล 8 จะทำไม่ได้)

กินเจทานได้ แต่ไม่แนะนำ

  • น้ำอัดลม (ไม่มีข้อห้าม แต่น้ำตาลสูงเกินไป)
  • ผงชูรส (แม้จะทำจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาลจากอ้อย แต่ผงปรุงรสอาหารอื่นๆ มักผสมเนื้อสัตว์)
  • ช็อคโกแลต (ส่วนใหญ่มีนมเป็นส่วนผสม แต่หากทานดาร์คช็อคโกแลต 100% ก็สามารถทำได้ แต่หายาก)

เตรียมตัวอย่างไรกับเทศกาลกินเจ

  1. ห้ามกินผักที่มีกลิ่นฉุนหรือผักที่มีกลิ่นแรง
    เพราะจะทำให้ร่างกายและพลังธาตุถูกทำลาย ร่างกายเกิดการกระตุ้นจากรสของอาหารนั้นๆ ได้แก่ หัวหอม ต้นหอม ใบหอม หลักเกียว กุ้ยช่าย กระเทียม ใบยาสูบ (บุหรี่ ยาเส้น ของเสพติดมึนเมา) หมายถึงต้องงดสูบบุหรี่และกินเหล้าในช่วงที่ถือศีลกินเจนี้ด้วย
  2. ห้ามกินเนื้อสัตว์
    หรืออาหารที่มีส่วนผสมหรือส่วนประกอบ หรือเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นไขมันสัตว์ ไข่ เลือด อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์
  3. ห้ามกินอาหารที่มีรสจัด
    ไม่ว่าจะเป็นทั้งเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด หรือเปรี้ยวจัดก็ตาม เพราะอาหารที่มีรสจัดจะไปกระตุ้นต่อมต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานมากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นผลให้จิตใจไม่สงบในช่วงถือศีล กินเจนี้
  4. ห้ามกินอาหารที่คนปรุงไม่ได้ถือศีลกินเจ
    ข้อนี้แหละที่ทำให้คนถือศีลกินเจต้องไปอยู่รวมกันในสถานที่ที่มีคนกินเจรวมตัวกันอยู่ อย่างเช่นโรงทาน ศาลเจ้าต่างๆ ที่จัดงาน เพราะคนที่ทำหน้าที่ทำอาหารนั้นจะถือศีลด้วย
  5. ถ้วยชามที่ใช้ใส่อาหารจะต้องไม่ปนกัน
    ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือเบียดเบียนชีวิตใคร ต้องแต่งกายด้วยชุดขาว ห้ามพูดคำหยาบ โกหก ยุยง ส่อเสียด หรือพูดจาไม่เป็นสาระ
  6. ห้ามดื่มสุราและของมึนเมา
    ในช่วงที่ถือศีลกินเจตลอด 9 วัน
  7. ห้ามดับตะเกียงทั้ง 9 ดวง
    ในสถานที่อย่างศาลเจ้า โรงเจ โรงทาน หรือสถานที่ที่จัดงานถือศีลกินเจ จะมีการจุดตะเกียง 9 ดวงเอาไว้ตลอดวันตลอดคืน จึงต้องมีคนเฝ้าไม่ให้ตะเกียงนั้นดับ

ถึงแม้การกินเจ จะดูเป็นเรื่องยากสำหรับคนชอบทานเนื้อสัตว์ แต่เราเชื่อว่าหากคุณได้ลองกินเจแล้ว นอกจากสุขภาพที่จะดีขึ้นอย่างทันตาเห็นแล้ว ยังอิ่มบุญอิ่มใจจากการถือศีล และหากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย ยังได้ผิวพรรณที่ดี และหุ่นสวยหล่อเพอร์เฟ็คแน่นอน ใครยังไม่เคยก็ลองกินเจปีนี้เป็นปีแรกกันดูนะคะ รับรองว่าจะต้องติดใจจนไม่อยากหยุดกินเจแน่นอน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า